หนังออนไลน์เดือด Netflix บุก Iflix- ฮอลลีวูดวิ่งหาพันธมิตร
สมรภูมิดูหนังออนไลน์ระอุ ยักษ์ใหญ่-ยักษ์เล็ก ระเบิดศึกชิงลูกค้าเต็มพิกัด "เน็ตฟลิกซ์" เปิดตัวเป็นทางการ ชู "ออริจินัลคอนเทนต์-พากย์ไทย" ปูพรมบุกตลาด "ไอฟลิกซ์" เร่งหาพันธมิตรตั้งเป้าปั๊มฐานสมาชิกเพิ่ม 3 เท่า ขณะที่ HOLLYWOOD TV เตรียมระดมทุนเพิ่มตลาดหลักทรัพย์เยอรมัน
นางเจสสิก้า ลี รองประธานฝ่ายสื่อสาร (เอเชียแปซิฟิก) เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ผู้ให้บริการเครือข่ายทีวีทางอินเทอร์เน็ต กล่าวว่า หลังจากเปิดให้บริการในไทยมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และเมื่อมี.ค.ได้ประกาศความร่วมมือกับค่ายมือถือเอไอเอส ล่าสุดเปิดตัวอินเทอร์เฟซภาษาไทยเต็มรูปแบบ ทั้งการเพิ่มคำบรรยาย (ซับไตเติ้ล) และพากย์เสียงภาษาไทยเพื่อเข้าถึงลูกค้าคนไทยให้กว้างขึ้น เนื่องจากเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ จากฐานสมาชิกกว่า 100 ล้านคนใน 190 ประเทศทั่วโลก
"ธุรกิจของเราเริ่มต้นจากการให้เช่าวิดีโอออนไลน์ในปี 2540 และในปี 2550 เริ่มให้บริการสตรีมมิ่งวิดีโอ จนปี 2553 ขยายตลาดไปยังแคนาดาและประเทศต่าง ๆ และปี 2556 เปิดตัวรายการที่ผลิตโดยเน็ตฟลิกซ์ หรือที่เรียกว่าออริจินัล คอนเทนต์ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนราว 25% และเป็นจุดแข็ง นอกเหนือจากความพยายามพัฒนาคอนเทนต์ และการพากย์เสียงภาษาท้องถิ่น กว่า 24 ภาษา"
ทั้งยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งในแง่การใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา และง่ายขึ้นผ่านทุกหน้าจออุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวก ไม่เว้นแม้แต่ในที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตหรือต้องการประหยัดค่าบริการดาต้า ด้วยการให้ดาวน์โหลดไว้ก่อนเพื่อรับชมแบบออฟไลน์ได้
สำหรับแพ็กเกจบริการในไทยแยกตามราคาและเงื่อนไขในการใช้งานมี3 แพ็กเกจ ได้แก่ 280 บาท/เดือน ดูได้ครั้งละ 1 อุปกรณ์ ภาพความละเอียดมาตรฐาน แพ็กเกจ 350 บาท/เดือน ดูได้พร้อมกันครั้งละ 2 อุปกรณ์ ความละเอียด HD และ 420 บาท/เดือน ดูได้ครั้งละ 4 อุปกรณ์ ความละเอียดระดับ HD และ Ul-traHD 4K
"แต่ละบัญชีจะมีโปรไฟล์ได้ถึง 5 โปรไฟล์หรือแยกได้เป็น 5 ชื่อ ทำให้ในบ้านเดียวกันใช้แอ็กเคานต์ร่วมกันได้ เพราะแต่ละคนจะมีความชอบต่างกัน"
อย่างไรก็ตาม นางลีปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพยายามในการเข้ามากำกับดูแลผู้ให้บริการ "โอทีที" (OTT) ของ กสทช. โดยระบุว่ายังไม่ทราบรายละเอียด
เว็บละเมิดลิขสิทธิ์คู่แข่งสำคัญ
ด้านนางสาวอาทิมา สุรพงษ์ชัย หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท ไอฟลิกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คู่แข่งสำคัญของไอฟลิกซ์ และผู้ให้บริการรายอื่น ยังเป็นเว็บละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงแผ่นผี เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่มากกว่านำผู้ให้บริการทุกรายมารวมกัน กลยุทธ์ของไอฟลิกซ์ คือ คอนเทนต์หลากหลาย มีซีรีส์หายาก สมัครง่าย ไม่มีโฆษณาเพิ่มอุปกรณ์ได้หลากหลาย มีบรรยายไทย มีฟีเจอร์ดูออฟไลน์ ไม่แพง (100 บาท/เดือน และ 1,000 บาท/ปี)
"ผู้เล่นหลักมี 6 ราย ส่วนใหญ่แข่งเรื่องคอนเทนต์ ราคา และความง่ายในการใช้งาน ซึ่งแต่ละรายเจาะกลุ่มต่างกัน มีคอนเทนต์ไม่ค่อยทับซ้อนกัน"
อย่างไรก็ตาม ปีนี้ตั้งเป้าขยายฐานสมาชิกเพิ่มขึ้น 3 เท่า เป็น 3 ล้านราย ด้วยการหาพาร์ตเนอร์ให้หลากหลายวงการ เช่น แอร์เอเชีย, ซัมซุง และดีแทค
"ด้วยฐานของพาร์ตเนอร์ทำให้มีโอกาสเติบโตอีกมาก อย่างดีแทคที่มีลูกค้า 25 ล้านคน ถ้าไอฟลิกซ์ได้ลูกค้าบลูเมมเบอร์ 1 ล้านคน เท่ากับโตดับเบิลแล้ว"
ส่วนแนวคิดจะกำกับ OTT ของภาครัฐ ยินดีร่วมมือ แต่ให้แฟร์กับทุกคนในตลาด "เว็บผิดกฎหมายจะลงทะเบียนอย่างไร ถ้าไม่ลงทะเบียนจะปิดไหม หรือบางรายอยู่ต่างประเทศจะให้มาลงทะเบียนอย่างไร ซึ่งตนมองว่าผู้ที่น่าจะโดนควบคุมคือของเถื่อน แต่การจัดการกับเว็บเถื่อนเป็นไปได้ยากมาก แม้ กสทช. กระทรวงดีอี และกรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจปิด และปัจจุบันกฎหมายยังไม่เอื้อ"
ปัจจุบันไอฟลิกซ์มีสมาชิกในไทยกว่า 1 ล้านราย เป็นผู้ใช้แอ็กทีฟราว 1 แสนต่อเดือน โดยมีคนใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจาก อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีการชมเฉลี่ย 135 นาทีต่อวัน หรือ 2.6 วันต่อสัปดาห์ ช่วงเวลายอดนิยม 21.00-01.00 น. สมาชิก 65% อายุ 18-34 ปี ดูผ่านมือถือและแท็บเลตเป็นอันดับหนึ่ง 69%สมรภูมิเดือด - ผู้ให้บริการเว็บดูหนังทั้งในไทยและยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศเดินหน้าบุกตลาดไทยต่อเนื่อง ชูจุดเด่นด้านราคาและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย หน้าจอ พร้อมเสิร์ฟความบันเทิงทุกที่ทุกเวลา ไม่หวั่นแม้ กสทช.เตรียมกำกับดูแล
เตรียมระดมทุนตลาดหุ้นเยอรมัน
ขณะที่นายพิรุฬห์ พิหเคนทร์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮอลลีวูดมูฟวีส์ เอจี ผู้ให้บริการภายใต้แบรนด์ HOLLYWOOD TV กล่าวว่า ตลาดดูหนังออนไลน์ปีนี้ น่าจะมีมูลค่าราว 4,000-5,000 ล้านบาท เติบโตเท่าตัวเหมือนที่ผ่านมา
ขณะที่ผู้ให้บริการแต่ละรายมีคอนเทนต์ต่างกัน จึงไม่ได้มองว่าจะมีการแย่งลูกค้ากัน เพราะในต่างประเทศ ลูกค้าแต่ละรายก็สมัครบริการมากกว่า 1 เจ้า ดังนั้นการแข่งขันจึงเน้นไปที่เทคโนโลยีและการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า
"บริษัทเน้นราคาไม่แพง 199 บาท/เดือน อยู่ในระดับกลาง ๆ ของตลาดที่เริ่มตั้งแต่ 100-400 บาท/เดือน แล้วยังมีขายเป็นเรื่อง เริ่มต้นที่ 259 บาทด้วย ทั้งยังซื้อบริการได้ทั้งทางออนไลน์และร้านสะดวกซื้อชั้นนำกว่า 12,700 แห่งทั่วประเทศ ส่วนเทคโนโลยีเน้นเรื่องการบีบอัดไฟล์เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วไม่สูงมากก็ใช้บริการได้
โดยล่าสุดร่วมมือกับบริษัท อายไอโอ (eyeIO) ที่เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีสตรีมมิ่งระดับโลก พัฒนาอุปกรณ์ DOT มาช่วยบีบอัดข้อมูลให้ลูกค้าดาวน์โหลดคอนเทนต์คมชัด HD ได้รวดเร็ว จะวางขายไตรมาส 3 ปีนี้"
ปัจจุบันบริษัทมียอดแอ็กทีฟยูสเซอร์ 150,000 คน/เดือน เติบโตกว่า 20% มีรายได้เฉลี่ยต่อปีกว่า 500 ล้านบาท และปีนี้จะขยายไปให้บริการในประเทศเยอรมนี โดยอาศัยเครือข่ายของพาร์ตเนอร์
ต่างชาติ และคาดว่า ก.ย.นี้จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ Frankfurt Stock Exchange โดยคาดว่าจะระดมทุนได้ราว 400-500 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนเพิ่มในส่วนของการซื้อดูหนัง HD และการผลิต DOT หลังจากที่ได้ลงทุนไปแล้ว 1,000 ล้านบาทตลอด 3 ปีที่ผ่าน แต่ยังไม่คืนทุน คาดว่าจะเริ่มคืนทุนได้จากการวางจำหน่าย DOT ทั้งยังจะทำให้มีรายได้เติบโตเป็น 1,000 ล้านบาท และมียอดผู้ใช้งานเติบโตเป็นเท่าตัวภายในสิ้นปี
ส่วนการเข้ามากำกับดูแล OTT ของภาครัฐ ทางบริษัทยินดีปฏิบัติตามและมองว่าไม่น่าจะมีผลกระทบใด ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1493465089
นางเจสสิก้า ลี รองประธานฝ่ายสื่อสาร (เอเชียแปซิฟิก) เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ผู้ให้บริการเครือข่ายทีวีทางอินเทอร์เน็ต กล่าวว่า หลังจากเปิดให้บริการในไทยมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และเมื่อมี.ค.ได้ประกาศความร่วมมือกับค่ายมือถือเอไอเอส ล่าสุดเปิดตัวอินเทอร์เฟซภาษาไทยเต็มรูปแบบ ทั้งการเพิ่มคำบรรยาย (ซับไตเติ้ล) และพากย์เสียงภาษาไทยเพื่อเข้าถึงลูกค้าคนไทยให้กว้างขึ้น เนื่องจากเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ จากฐานสมาชิกกว่า 100 ล้านคนใน 190 ประเทศทั่วโลก
"ธุรกิจของเราเริ่มต้นจากการให้เช่าวิดีโอออนไลน์ในปี 2540 และในปี 2550 เริ่มให้บริการสตรีมมิ่งวิดีโอ จนปี 2553 ขยายตลาดไปยังแคนาดาและประเทศต่าง ๆ และปี 2556 เปิดตัวรายการที่ผลิตโดยเน็ตฟลิกซ์ หรือที่เรียกว่าออริจินัล คอนเทนต์ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนราว 25% และเป็นจุดแข็ง นอกเหนือจากความพยายามพัฒนาคอนเทนต์ และการพากย์เสียงภาษาท้องถิ่น กว่า 24 ภาษา"
ทั้งยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งในแง่การใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา และง่ายขึ้นผ่านทุกหน้าจออุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวก ไม่เว้นแม้แต่ในที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตหรือต้องการประหยัดค่าบริการดาต้า ด้วยการให้ดาวน์โหลดไว้ก่อนเพื่อรับชมแบบออฟไลน์ได้
สำหรับแพ็กเกจบริการในไทยแยกตามราคาและเงื่อนไขในการใช้งานมี3 แพ็กเกจ ได้แก่ 280 บาท/เดือน ดูได้ครั้งละ 1 อุปกรณ์ ภาพความละเอียดมาตรฐาน แพ็กเกจ 350 บาท/เดือน ดูได้พร้อมกันครั้งละ 2 อุปกรณ์ ความละเอียด HD และ 420 บาท/เดือน ดูได้ครั้งละ 4 อุปกรณ์ ความละเอียดระดับ HD และ Ul-traHD 4K
"แต่ละบัญชีจะมีโปรไฟล์ได้ถึง 5 โปรไฟล์หรือแยกได้เป็น 5 ชื่อ ทำให้ในบ้านเดียวกันใช้แอ็กเคานต์ร่วมกันได้ เพราะแต่ละคนจะมีความชอบต่างกัน"
อย่างไรก็ตาม นางลีปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพยายามในการเข้ามากำกับดูแลผู้ให้บริการ "โอทีที" (OTT) ของ กสทช. โดยระบุว่ายังไม่ทราบรายละเอียด
เว็บละเมิดลิขสิทธิ์คู่แข่งสำคัญ
ด้านนางสาวอาทิมา สุรพงษ์ชัย หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท ไอฟลิกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คู่แข่งสำคัญของไอฟลิกซ์ และผู้ให้บริการรายอื่น ยังเป็นเว็บละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงแผ่นผี เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่มากกว่านำผู้ให้บริการทุกรายมารวมกัน กลยุทธ์ของไอฟลิกซ์ คือ คอนเทนต์หลากหลาย มีซีรีส์หายาก สมัครง่าย ไม่มีโฆษณาเพิ่มอุปกรณ์ได้หลากหลาย มีบรรยายไทย มีฟีเจอร์ดูออฟไลน์ ไม่แพง (100 บาท/เดือน และ 1,000 บาท/ปี)
"ผู้เล่นหลักมี 6 ราย ส่วนใหญ่แข่งเรื่องคอนเทนต์ ราคา และความง่ายในการใช้งาน ซึ่งแต่ละรายเจาะกลุ่มต่างกัน มีคอนเทนต์ไม่ค่อยทับซ้อนกัน"
อย่างไรก็ตาม ปีนี้ตั้งเป้าขยายฐานสมาชิกเพิ่มขึ้น 3 เท่า เป็น 3 ล้านราย ด้วยการหาพาร์ตเนอร์ให้หลากหลายวงการ เช่น แอร์เอเชีย, ซัมซุง และดีแทค
"ด้วยฐานของพาร์ตเนอร์ทำให้มีโอกาสเติบโตอีกมาก อย่างดีแทคที่มีลูกค้า 25 ล้านคน ถ้าไอฟลิกซ์ได้ลูกค้าบลูเมมเบอร์ 1 ล้านคน เท่ากับโตดับเบิลแล้ว"
ส่วนแนวคิดจะกำกับ OTT ของภาครัฐ ยินดีร่วมมือ แต่ให้แฟร์กับทุกคนในตลาด "เว็บผิดกฎหมายจะลงทะเบียนอย่างไร ถ้าไม่ลงทะเบียนจะปิดไหม หรือบางรายอยู่ต่างประเทศจะให้มาลงทะเบียนอย่างไร ซึ่งตนมองว่าผู้ที่น่าจะโดนควบคุมคือของเถื่อน แต่การจัดการกับเว็บเถื่อนเป็นไปได้ยากมาก แม้ กสทช. กระทรวงดีอี และกรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจปิด และปัจจุบันกฎหมายยังไม่เอื้อ"
ปัจจุบันไอฟลิกซ์มีสมาชิกในไทยกว่า 1 ล้านราย เป็นผู้ใช้แอ็กทีฟราว 1 แสนต่อเดือน โดยมีคนใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจาก อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีการชมเฉลี่ย 135 นาทีต่อวัน หรือ 2.6 วันต่อสัปดาห์ ช่วงเวลายอดนิยม 21.00-01.00 น. สมาชิก 65% อายุ 18-34 ปี ดูผ่านมือถือและแท็บเลตเป็นอันดับหนึ่ง 69%สมรภูมิเดือด - ผู้ให้บริการเว็บดูหนังทั้งในไทยและยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศเดินหน้าบุกตลาดไทยต่อเนื่อง ชูจุดเด่นด้านราคาและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย หน้าจอ พร้อมเสิร์ฟความบันเทิงทุกที่ทุกเวลา ไม่หวั่นแม้ กสทช.เตรียมกำกับดูแล
เตรียมระดมทุนตลาดหุ้นเยอรมัน
ขณะที่นายพิรุฬห์ พิหเคนทร์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮอลลีวูดมูฟวีส์ เอจี ผู้ให้บริการภายใต้แบรนด์ HOLLYWOOD TV กล่าวว่า ตลาดดูหนังออนไลน์ปีนี้ น่าจะมีมูลค่าราว 4,000-5,000 ล้านบาท เติบโตเท่าตัวเหมือนที่ผ่านมา
ขณะที่ผู้ให้บริการแต่ละรายมีคอนเทนต์ต่างกัน จึงไม่ได้มองว่าจะมีการแย่งลูกค้ากัน เพราะในต่างประเทศ ลูกค้าแต่ละรายก็สมัครบริการมากกว่า 1 เจ้า ดังนั้นการแข่งขันจึงเน้นไปที่เทคโนโลยีและการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า
"บริษัทเน้นราคาไม่แพง 199 บาท/เดือน อยู่ในระดับกลาง ๆ ของตลาดที่เริ่มตั้งแต่ 100-400 บาท/เดือน แล้วยังมีขายเป็นเรื่อง เริ่มต้นที่ 259 บาทด้วย ทั้งยังซื้อบริการได้ทั้งทางออนไลน์และร้านสะดวกซื้อชั้นนำกว่า 12,700 แห่งทั่วประเทศ ส่วนเทคโนโลยีเน้นเรื่องการบีบอัดไฟล์เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วไม่สูงมากก็ใช้บริการได้
โดยล่าสุดร่วมมือกับบริษัท อายไอโอ (eyeIO) ที่เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีสตรีมมิ่งระดับโลก พัฒนาอุปกรณ์ DOT มาช่วยบีบอัดข้อมูลให้ลูกค้าดาวน์โหลดคอนเทนต์คมชัด HD ได้รวดเร็ว จะวางขายไตรมาส 3 ปีนี้"
ปัจจุบันบริษัทมียอดแอ็กทีฟยูสเซอร์ 150,000 คน/เดือน เติบโตกว่า 20% มีรายได้เฉลี่ยต่อปีกว่า 500 ล้านบาท และปีนี้จะขยายไปให้บริการในประเทศเยอรมนี โดยอาศัยเครือข่ายของพาร์ตเนอร์
ต่างชาติ และคาดว่า ก.ย.นี้จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ Frankfurt Stock Exchange โดยคาดว่าจะระดมทุนได้ราว 400-500 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนเพิ่มในส่วนของการซื้อดูหนัง HD และการผลิต DOT หลังจากที่ได้ลงทุนไปแล้ว 1,000 ล้านบาทตลอด 3 ปีที่ผ่าน แต่ยังไม่คืนทุน คาดว่าจะเริ่มคืนทุนได้จากการวางจำหน่าย DOT ทั้งยังจะทำให้มีรายได้เติบโตเป็น 1,000 ล้านบาท และมียอดผู้ใช้งานเติบโตเป็นเท่าตัวภายในสิ้นปี
ส่วนการเข้ามากำกับดูแล OTT ของภาครัฐ ทางบริษัทยินดีปฏิบัติตามและมองว่าไม่น่าจะมีผลกระทบใด ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1493465089
EmoticonEmoticon